วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Prague

Prague










สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic) (ภาษาเช็ก: Česká republika)





เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ในภูมิภาคยุโรปกลาง พรมแดนทางตอนเหนือจรดประเทศโปแลนด์ ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือจรดเยอรมนี ทางใต้จรดออสเตรีย และทางตะวันออกจรดสโลวาเกีย

สาธารณรัฐเช็กประกอบด้วยภูมิภาคที่เก่าแก่สองส่วน คือ โบฮีเมียและมอเรเวีย และส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่สาม เรียกว่า ไซลีเชีย ประเทศนี้ได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547

เมืองหลวงของประเทศคือ กรุงปราก (Prague) (ภาษาเช็ก : Praha) เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศด้วย เมืองสำคัญอื่น ๆ ของประเทศ ได้แก่ เบอร์โน (Brno) ออสตราวา (Ostrava) เปิลเซน (Plzeň) ฮราเดตส์กราลอเว (Hradec Králové) เชสเกบุดเยยอวีตเซ (České Budějovice) และอูสตีนาดลาเบม (Ústí nad Labem)

ประวัติศาสตร์

ดินแดนของสาธารณรัฐเช็กในปัจจุบัน มีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปราว 2,000 ปี นับตั้งแต่เมื่อชนเผ่าสลาโวนิก (Slavonic Tribes) หรือชนเผ่าสลาฟ ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานแคว้นโบฮีเมียได้พัฒนาเป็นรัฐอิสระเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 9 แต่ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชนเผ่าเยอรมันได้อพยพเข้ามายึดดินแดนของเช็กในปัจจุบันเป็นอาณานิคม ซึ่งเป็นปัจจัยที่สร้างวัฒนธรรมเช็กให้มีทั้งลักษณะของชนเผ่าเยอรมันและชนเผ่าสลาฟ กรุงปรากจึงเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมอันหลากหลาย อาทิ โรมาเนสก์ กอทิก เรอเนซองซ์ บารอก รวมทั้งศิลปะรูปแบบต่าง ๆ ทำให้กรุงปรากเป็นเมืองที่แสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมาของเช็กได้อย่างดี ตั้งแต่สมัยอาณาจักรโรมัน จนกระทั่งถึงสมัยราชวงศ์ฮับสบูร์ก (ราวศตวรรษที่ 15-18) และองค์การยูเนสโก ได้เลือกให้เป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรม นอกจากนี้ เช็กยังมีชื่อเสียงและประวัติศาสตร์อันยาวนานด้านการผลิตเบียร์ โดยเฉพาะที่เมืองเปิลเซน (Plzen)

ช่วงสงคราม
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ฝ่ายพันธมิตรได้สนับสนุนให้ชาวเช็กและชาวสโลวักสร้างสหพันธรัฐประชาธิปไตยเชโกสโลวะเกียขึ้น ในปี 2461 เนื่องจากเช็กและสโลวักมีภาษาคล้ายคลึงกัน แต่แยกจากกันทางการเมือง เนื่องจากสโลวาเกียเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฮังการี ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เชโกสโลวะเกียเป็นประเทศที่อุตสาหกรรมมีความก้าวหน้าที่สุดจนติดอันดับหนึ่งในสิบของโลก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากชาวสโลวักต้องการแยกตัวออกเป็นรัฐอิสระจากเช็กซึ่งมีบทบาทเหนือกว่า

ในเดือนมีนาคม 2482 กองทัพนาซีเยอรมันได้รุกรานแคว้นโบฮีเมียและโมเรเวีย ทำให้เชโกสโลวาเกียสูญเสียความเป็นรัฐเอกราช จนกระทั่งในปี 2488 กองทัพโซเวียตได้ปลดปล่อยดินแดนของเชโกสโลวะเกียจากการปกครองของนาซี ทำให้สหภาพโซเวียตมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการทางการเมืองของเชโกสโลวาเกียในเวลาต่อมา และในปี 2491 พรรคคอมมิวนิสต์ได้ก่อรัฐประหารยึดอำนาจไว้


หลังสงคราม
พรรคคอมมิวนิสต์มีอิทธิพลในเชโกสโลวาเกียมาโดยตลอด จนกระทั่งในช่วงปลายทศวรรษที่ 60 ได้เริ่มมีการเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิรูป ที่เรียกว่า ช่วงฤดูใบไม้ผลิแห่งกรุงปราก (Prague Spring) ภายใต้การนำของนายอเล็กซานเดอร์ ดูบเชค (Alexander Dubcek) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียตและประเทศอื่นในกลุ่มกติกาสนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) เกรงว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะเป็นภัยคุกคามต่อระบบคอมมิวนิสต์ จึงได้ยกกองกำลังเข้าไปในเชโกสโลวาเกียเมื่อปี 2511 และจัดตั้งระบบคอมมิวนิสต์ที่เข้มงวดขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีแนวคิดต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ในเช็กโกสโลวาเกีย

หลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลายลง เชโกสโลวะเกียได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอย่างสันติ โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การปฏิวัติเวลเวต (Velvet Revolution) และนายวาคลัฟ ฮาเวล (Vaclav Havel) ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีเชโกสโลวาเกียในปี 2532

รัฐบาลเชโกสโลวะเกียได้มีมติเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ให้สลายประเทศเชโกสโลวาเกีย และแบ่งออกเป็นสาธารณรัฐเช็กและสาธารณรัฐสโลวัก (สโลวาเกีย) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า Velvet Divorce ต่อมา นายวาคลัฟ ฮาเวลได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐเช็กในปี 2536 และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 2 ในปี 2541 จนกระทั่งหมดวาระ (วาระละ 5 ปี) เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2546 และนายวาคลัฟ เคลาอุส (Vaclav Klaus) ได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสืบต่อ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546


ปราก เมืองเก่าสวยมาก ความสวยงามของกรุงปราก ดินแดนของสาธารณรัฐเช็ก เป็นที่เลืองลือและมีผู้คนเดินทางไปชมเมืองที่มีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปราว 2,000 ปี จึงเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมอันหลากหลาย เช่น โรมันเนสก์ โกธิค เรเนซองส บารอค รวมทั้งศิลปะรูปแบบต่างๆ ทำให้กรุงปรากเป็นเมืองที่แสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรโรมัน และองค์การ UNESCO ได้เลือกให้เป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรม นักท่องเที่ยวเริ่มชมเมืองจากเมืองเก่า Old Town Square หอนาฬิกาดาราศาสตร์ โบสถ์ติน ในบริเวณเมืองเก่าตอนค่ำคืนก็มีเรื่องเล่าว่าผีดุเช่นกัน เพราะในยุคกลางสมัยก่อนมีการประหารชีวิตพวกแข็งข้อหวังยึดอำนาจการปกครองกัน เมื่อถูกจับได้ก็มีการตัดหัวกันกลางเมืองเก่า เพื่อมิให้เอาเยี่ยงอย่าง การชมกรุงปรากสามารถชมได้เกือบหมดในช่วง 2-3 วัน สะพานชาร์ลส (Charles Bridge) ถือเป็น สัญลักษณ์ของเมืองปรากสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 14 ชื่อเดิมเรียกว่า “สะพานปราก” ต่อมาในปี 1870 ได้เปลี่ยนชื่อตามพระนามของพระเจ้าชาร์ล อยู่ย่านจัตุรัสและตัวเมืองเก่า (Old Town Square) ที่คลาสสิกโดยเฉพาะอาคารศาลาเทศบาลกรุงปราก นักท่องเที่ยวจะเฝ้าดูนาฬิกาโบราณทุกชั่วโมงจะมีตุ๊กตาออกมาบอกเวลา และจักรราศีของ ดวงดาวในแต่ละวัน อีกทั้งยังเป็นนาฬิกาเก่าแก่แห่งหนึ่งในยุโรป

ปราสาทปราก (Prague Castle) ปราสาทที่ใหญ่ที่สุดในสาธารณรัฐเช็ก สร้างขึ้นในปี 885 โดยเจ้าชายบริโวจ ปัจจุบันเป็นทำเนียบประธานาธิบดี จากกรุงปรากเดินทางสู่ เมืองคาร์โลวี วารีตั้งอยู่ท่ามกลางเทือกเขาที่อุดมสมบูรณ์และมีแม่น้ำเทปลา ไหลหล่อเลี้ยง เมืองคาร์โลวี วารี ได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งสปาที่ใหญ่ที่สุดของเช็ก ตามตำนานบอกว่าพระเจ้าชาร์ลที่ 4 ทรงพบแหล่งน้ำแร่ที่เมืองนี้ในปี 1358 เมื่อครั้งเสด็จฯ ออกล่าสัตว์แล้วสุนัขล่าเนื้อตัวหนึ่งตกลงไปในบ่อน้ำพุร้อน นับแต่นั้นเมืองนี้ก็มีชื่อเสียงของบ่อน้ำแร่ที่ใช้สำหรับรักษาร่างกายและบำบัดโรคร้ายต่างๆ เป็นต้นมา จนถึงเดี๋ยวนี้ทั้งเมืองมีน้ำพุร้อน และ น้ำแร่อุณหภูมิตั้งแต่ 42-72 งศาเซลเซียส ทั้งหมด 12 แห่ง เมืองแห่งสปานี้มีชื่อเสียงไปทั่วโลกว่าเป็นศูนย์กลางบำบัดโรคภัยต่างๆ ในอดีตมีเจ้านายหลายพระองค์เคยเสด็จฯ เยือน เช่น จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซ่า แห่งออสเตรีย พระเจ้าปีเตอร์ มหาราช แห่งรัสเซีย และพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งปรัสเซีย จนทำให้เมืองนี้กลายเป็นแหล่งรีสอร์ททางสุขภาพระดับโลก ยังมีเมืองที่ซ่อนตัวอยู่ในหุบเขา บ้านเรือนหลังคาสีแดงเรียงรายลดหลั่นเป็นชั้นๆ แล้วเดินชม ปราสาทครุมลอฟ (Krumlov) มรดกโลกชิ้นหนึ่งสร้างเมื่อ 1250 เป็นปราสาทที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขา จะเป็นรองก็แต่ปราสาทปรากเท่านั้น มีอายุเก่าแก่กว่า 700 ปี ตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำวัลตาวา ตรงบริเวณคุ้งน้ำพอดีฝั่งตรงข้ามเป็นย่านเมืองเก่าคลาสสิก “Senete Square” และโบสถ์เก่ากลางเมือง กรุงปรากมีสะพานหินเก่าๆ เช่น สะพานชาร์ลส (Charles Bridge) แต่ผู้คนไปชมในแต่ละ ปีเป็นจำนวนนับแสนๆ เดินเลียบไปตามแม่น้ำอีกนิด ก็จะพบตึกเก่าแต่ปรับปรุงใหม่ ดีไซน์ใหม่ เรียกว่า “ตึกเต้นระบำ” ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อดังคนหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น: