วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Prague

Prague










สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic) (ภาษาเช็ก: Česká republika)





เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ในภูมิภาคยุโรปกลาง พรมแดนทางตอนเหนือจรดประเทศโปแลนด์ ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือจรดเยอรมนี ทางใต้จรดออสเตรีย และทางตะวันออกจรดสโลวาเกีย

สาธารณรัฐเช็กประกอบด้วยภูมิภาคที่เก่าแก่สองส่วน คือ โบฮีเมียและมอเรเวีย และส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่สาม เรียกว่า ไซลีเชีย ประเทศนี้ได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547

เมืองหลวงของประเทศคือ กรุงปราก (Prague) (ภาษาเช็ก : Praha) เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศด้วย เมืองสำคัญอื่น ๆ ของประเทศ ได้แก่ เบอร์โน (Brno) ออสตราวา (Ostrava) เปิลเซน (Plzeň) ฮราเดตส์กราลอเว (Hradec Králové) เชสเกบุดเยยอวีตเซ (České Budějovice) และอูสตีนาดลาเบม (Ústí nad Labem)

ประวัติศาสตร์

ดินแดนของสาธารณรัฐเช็กในปัจจุบัน มีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปราว 2,000 ปี นับตั้งแต่เมื่อชนเผ่าสลาโวนิก (Slavonic Tribes) หรือชนเผ่าสลาฟ ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานแคว้นโบฮีเมียได้พัฒนาเป็นรัฐอิสระเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 9 แต่ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชนเผ่าเยอรมันได้อพยพเข้ามายึดดินแดนของเช็กในปัจจุบันเป็นอาณานิคม ซึ่งเป็นปัจจัยที่สร้างวัฒนธรรมเช็กให้มีทั้งลักษณะของชนเผ่าเยอรมันและชนเผ่าสลาฟ กรุงปรากจึงเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมอันหลากหลาย อาทิ โรมาเนสก์ กอทิก เรอเนซองซ์ บารอก รวมทั้งศิลปะรูปแบบต่าง ๆ ทำให้กรุงปรากเป็นเมืองที่แสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมาของเช็กได้อย่างดี ตั้งแต่สมัยอาณาจักรโรมัน จนกระทั่งถึงสมัยราชวงศ์ฮับสบูร์ก (ราวศตวรรษที่ 15-18) และองค์การยูเนสโก ได้เลือกให้เป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรม นอกจากนี้ เช็กยังมีชื่อเสียงและประวัติศาสตร์อันยาวนานด้านการผลิตเบียร์ โดยเฉพาะที่เมืองเปิลเซน (Plzen)

ช่วงสงคราม
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ฝ่ายพันธมิตรได้สนับสนุนให้ชาวเช็กและชาวสโลวักสร้างสหพันธรัฐประชาธิปไตยเชโกสโลวะเกียขึ้น ในปี 2461 เนื่องจากเช็กและสโลวักมีภาษาคล้ายคลึงกัน แต่แยกจากกันทางการเมือง เนื่องจากสโลวาเกียเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฮังการี ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เชโกสโลวะเกียเป็นประเทศที่อุตสาหกรรมมีความก้าวหน้าที่สุดจนติดอันดับหนึ่งในสิบของโลก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากชาวสโลวักต้องการแยกตัวออกเป็นรัฐอิสระจากเช็กซึ่งมีบทบาทเหนือกว่า

ในเดือนมีนาคม 2482 กองทัพนาซีเยอรมันได้รุกรานแคว้นโบฮีเมียและโมเรเวีย ทำให้เชโกสโลวาเกียสูญเสียความเป็นรัฐเอกราช จนกระทั่งในปี 2488 กองทัพโซเวียตได้ปลดปล่อยดินแดนของเชโกสโลวะเกียจากการปกครองของนาซี ทำให้สหภาพโซเวียตมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการทางการเมืองของเชโกสโลวาเกียในเวลาต่อมา และในปี 2491 พรรคคอมมิวนิสต์ได้ก่อรัฐประหารยึดอำนาจไว้


หลังสงคราม
พรรคคอมมิวนิสต์มีอิทธิพลในเชโกสโลวาเกียมาโดยตลอด จนกระทั่งในช่วงปลายทศวรรษที่ 60 ได้เริ่มมีการเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิรูป ที่เรียกว่า ช่วงฤดูใบไม้ผลิแห่งกรุงปราก (Prague Spring) ภายใต้การนำของนายอเล็กซานเดอร์ ดูบเชค (Alexander Dubcek) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียตและประเทศอื่นในกลุ่มกติกาสนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) เกรงว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะเป็นภัยคุกคามต่อระบบคอมมิวนิสต์ จึงได้ยกกองกำลังเข้าไปในเชโกสโลวาเกียเมื่อปี 2511 และจัดตั้งระบบคอมมิวนิสต์ที่เข้มงวดขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีแนวคิดต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ในเช็กโกสโลวาเกีย

หลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลายลง เชโกสโลวะเกียได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอย่างสันติ โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การปฏิวัติเวลเวต (Velvet Revolution) และนายวาคลัฟ ฮาเวล (Vaclav Havel) ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีเชโกสโลวาเกียในปี 2532

รัฐบาลเชโกสโลวะเกียได้มีมติเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ให้สลายประเทศเชโกสโลวาเกีย และแบ่งออกเป็นสาธารณรัฐเช็กและสาธารณรัฐสโลวัก (สโลวาเกีย) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า Velvet Divorce ต่อมา นายวาคลัฟ ฮาเวลได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐเช็กในปี 2536 และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 2 ในปี 2541 จนกระทั่งหมดวาระ (วาระละ 5 ปี) เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2546 และนายวาคลัฟ เคลาอุส (Vaclav Klaus) ได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสืบต่อ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546


ปราก เมืองเก่าสวยมาก ความสวยงามของกรุงปราก ดินแดนของสาธารณรัฐเช็ก เป็นที่เลืองลือและมีผู้คนเดินทางไปชมเมืองที่มีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปราว 2,000 ปี จึงเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมอันหลากหลาย เช่น โรมันเนสก์ โกธิค เรเนซองส บารอค รวมทั้งศิลปะรูปแบบต่างๆ ทำให้กรุงปรากเป็นเมืองที่แสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรโรมัน และองค์การ UNESCO ได้เลือกให้เป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรม นักท่องเที่ยวเริ่มชมเมืองจากเมืองเก่า Old Town Square หอนาฬิกาดาราศาสตร์ โบสถ์ติน ในบริเวณเมืองเก่าตอนค่ำคืนก็มีเรื่องเล่าว่าผีดุเช่นกัน เพราะในยุคกลางสมัยก่อนมีการประหารชีวิตพวกแข็งข้อหวังยึดอำนาจการปกครองกัน เมื่อถูกจับได้ก็มีการตัดหัวกันกลางเมืองเก่า เพื่อมิให้เอาเยี่ยงอย่าง การชมกรุงปรากสามารถชมได้เกือบหมดในช่วง 2-3 วัน สะพานชาร์ลส (Charles Bridge) ถือเป็น สัญลักษณ์ของเมืองปรากสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 14 ชื่อเดิมเรียกว่า “สะพานปราก” ต่อมาในปี 1870 ได้เปลี่ยนชื่อตามพระนามของพระเจ้าชาร์ล อยู่ย่านจัตุรัสและตัวเมืองเก่า (Old Town Square) ที่คลาสสิกโดยเฉพาะอาคารศาลาเทศบาลกรุงปราก นักท่องเที่ยวจะเฝ้าดูนาฬิกาโบราณทุกชั่วโมงจะมีตุ๊กตาออกมาบอกเวลา และจักรราศีของ ดวงดาวในแต่ละวัน อีกทั้งยังเป็นนาฬิกาเก่าแก่แห่งหนึ่งในยุโรป

ปราสาทปราก (Prague Castle) ปราสาทที่ใหญ่ที่สุดในสาธารณรัฐเช็ก สร้างขึ้นในปี 885 โดยเจ้าชายบริโวจ ปัจจุบันเป็นทำเนียบประธานาธิบดี จากกรุงปรากเดินทางสู่ เมืองคาร์โลวี วารีตั้งอยู่ท่ามกลางเทือกเขาที่อุดมสมบูรณ์และมีแม่น้ำเทปลา ไหลหล่อเลี้ยง เมืองคาร์โลวี วารี ได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งสปาที่ใหญ่ที่สุดของเช็ก ตามตำนานบอกว่าพระเจ้าชาร์ลที่ 4 ทรงพบแหล่งน้ำแร่ที่เมืองนี้ในปี 1358 เมื่อครั้งเสด็จฯ ออกล่าสัตว์แล้วสุนัขล่าเนื้อตัวหนึ่งตกลงไปในบ่อน้ำพุร้อน นับแต่นั้นเมืองนี้ก็มีชื่อเสียงของบ่อน้ำแร่ที่ใช้สำหรับรักษาร่างกายและบำบัดโรคร้ายต่างๆ เป็นต้นมา จนถึงเดี๋ยวนี้ทั้งเมืองมีน้ำพุร้อน และ น้ำแร่อุณหภูมิตั้งแต่ 42-72 งศาเซลเซียส ทั้งหมด 12 แห่ง เมืองแห่งสปานี้มีชื่อเสียงไปทั่วโลกว่าเป็นศูนย์กลางบำบัดโรคภัยต่างๆ ในอดีตมีเจ้านายหลายพระองค์เคยเสด็จฯ เยือน เช่น จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซ่า แห่งออสเตรีย พระเจ้าปีเตอร์ มหาราช แห่งรัสเซีย และพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งปรัสเซีย จนทำให้เมืองนี้กลายเป็นแหล่งรีสอร์ททางสุขภาพระดับโลก ยังมีเมืองที่ซ่อนตัวอยู่ในหุบเขา บ้านเรือนหลังคาสีแดงเรียงรายลดหลั่นเป็นชั้นๆ แล้วเดินชม ปราสาทครุมลอฟ (Krumlov) มรดกโลกชิ้นหนึ่งสร้างเมื่อ 1250 เป็นปราสาทที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขา จะเป็นรองก็แต่ปราสาทปรากเท่านั้น มีอายุเก่าแก่กว่า 700 ปี ตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำวัลตาวา ตรงบริเวณคุ้งน้ำพอดีฝั่งตรงข้ามเป็นย่านเมืองเก่าคลาสสิก “Senete Square” และโบสถ์เก่ากลางเมือง กรุงปรากมีสะพานหินเก่าๆ เช่น สะพานชาร์ลส (Charles Bridge) แต่ผู้คนไปชมในแต่ละ ปีเป็นจำนวนนับแสนๆ เดินเลียบไปตามแม่น้ำอีกนิด ก็จะพบตึกเก่าแต่ปรับปรุงใหม่ ดีไซน์ใหม่ เรียกว่า “ตึกเต้นระบำ” ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อดังคนหนึ่ง

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ตัวอย่างการใช้ระบบสำนักงานอัตโนมัติ

ระบบการประชุมทางไกล Teleconferencing

หน่วยงานใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการ หรือ บริษัทเอกชนที่มีขนาดใหญ่ ศูนย์กลางมักจะอยู่เมืองหลวง ครั้นถึงเวลาที่จะประชุมก็จะเรียบบรรดาหัวหน้าส่วน หรือ ผู้จัดการสาขาเข้ามาประชุมที่กรุงเทพฯ ค่าใช้จ่ายค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่ายานพาหนะ ที่จะต้องเบิกจ่ายจากส่วนกลางนั้นค่อนข้างมาก ครั้นเมื่อเทคโนโลยีได้ก้าวหน้ามากพอที่จะจัดประชุมทางไกลก็ได้บังเกิดขึ้น ซึ่งการติดต่อสื่อสารประชุมทางไกลผ่านดาวเทียมนี้ อาจจะผ่านสายโทรศัพท์ หรือผ่านสาย Leased Line (เป็นสายโทรศัพท์ประเภทหนึ่งที่ต่อตรงระหว่างต้นทางปลายทาง จ่ายค่าเช่าเป็นรายเดือน) หรือผ่านดาวเทียมก็ได้เริ่มให้บริการเกิดขึ้น ประมาณ 15 ปีที่แล้วในเมืองไทยเราก็เริ่มมีการให้บริการประชุมทางไกลผ่านดาวเทียม Teleconferencing นั่นก็คือการติดต่อสื่อสาร 2 ทาง ระบบประชุมทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งถ้าเป็นแบบเห็นภาพด้วยก็จะเป็น Video Conferencing อัตราค่าบริการเรียกกันเป็นนาที ประชุมกันวันละ 2-3 ชั่วโมงจะเสียเงินค่าใช้จ่ายนี้ราวครั้งหนึ่งๆจะไม่ต่ำกว่า 4-5 หมื่นบาทต่อการติดต่อเพียง 4-5 จุดเท่านั้น ข้อจำกัดอีกมากมายที่ทำให้ค่าใช้จ่ายนั้นเป็นอุปสรรคต่อผู้ให้ให้บริการ หรือ เป็นอุปสรรคต่อผู้ใช้บริการการประชุมทางไกลลักษณะนี้ เพราะค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่วนี้เองเป็นเรื่องใหญ่ แต่ก็เป็นเพียงช่องทางหนึ่งในการประหยัดเวลาของผู้เข้าร่วมประชุม เห็นหน้ากัน ได้ยินเสียงกัน ปลอดภัยการอุบัติเหตุในการเดินทางได้ด้วย
Teleconferencing ก็คือการประชุมทางไกลระบบผ่านโทรศัพท์ ซึ่งมีลักษณะที่ดีเด่น ยกตัวอย่าง เช่นการประชุมระดับผู้จัดการของธนาคารจากห้องประชุมในสำนักงานใหญ่ของธนาคารอาจจะมีคณะกรรมการระดับสูง หรือ ระดับสั่งงานนั่งอยู่ในห้อง และปลายทางซึ่งอาจจะเป็นสาขาของธนาคารที่ติดตั้งโทรศัพท์ระบบ Conference ซึ่งเปิดเสียงให้ทุกคนได้ยินภายในห้องของผู้จัดการสาขานี้ หากเป็นการประชุมระดับผู้จัดการ ก็จะมีเพียงผู้จัดการ หากเป็นการประชุมระดับผู้จัดการและผู้ช่วย หรือกับฝ่ายสินเชื่อก็อาจจะอยู่ในห้องประชุมเล็ก ระบบเล็กก็จะเป็นเพียงไม่กี่จุด แต่ถ้าเป็นระบบใหญ่ก็จะมีมากจุด ค่าใช้จ่ายมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับระบบ การประชุมด้วย Teleconferencing นี้ก็จะสามารถประหยัดงบเดินทาง ได้อย่างมาก ได้เนื้องาน ได้ผลงานอย่างคุ้มค่า
บริษัทใหญ่ๆก็อาจจะใช้ระบบการประชุมผ่านตู้โทรศัพท์ PBX ไปยังแผนกต่างๆของบริษัทฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย ฝ่ายบริการ ฝ่ายออกแบบ ฝ่ายวิจัย เพื่อจะทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับโรงงานที่มีหลายแผนก ก็สามารถใช้ระบบการประชุมผ่านตู้โทรศัพท์ PBX ไปยังแผนกต่างๆของบริษัท หรือ โรงงานได้อย่างไม่ยาก หากจะต้องประชุมต่างสถานที่กันก็อาจจะต่อ สายนอกขององค์การโทรศัพท์ไปยังปลายทาง ต่างสถานที่ ซึ่งบริการพิเศษ Teleconferencing นี้ทางองค์การโทรศัพท์ก็มีให้บริการโดยจ่ายค่าบริการเพิ่มจากปรกติเล็กน้อย สอบถามได้จากองค์การโทรศัพท์(ชื่อใหม่ก็คือ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) www.tot.co.th ) หรือ หากต้องการผ่านคอมพิวเตอร์ไปยังระบบอินเตอร์เน็ต หรือ ที่เรียกกันว่าระบบ VoIP (Voice over IP) ก็ใช้ Software ช่วยในการลดการหน่วงเวลา (delay) ซึ่งมักจะเกิดจากการติดต่อผ่านระบบอินเตอร์เน็ตที่ความเร็วแปรเปลี่ยน ที่มักจะเกิดขึ้นกับการแบ่ง Share การใช้ดังเช่นในระบบ ADSL ที่แบ่งการใช้ตั้งแต่ 10 ต่อ 1 หรือ 20 ต่อ 1 ยิ่งใช้กันมากเสียงยิ่งมีปัญหา และ การให้บริการของ VoIP ก็มีค่าใช้จ่ายเล็กน้อยให้กับบริษัท ผู้ให้บริการ เมื่อสมัครใช้บริการแล้วก็จะได้ ชื่อ(User ID) และ รหัส (Password หรือ PIN Code) ซึ่งก็จะเป็นการป้องกันการแอบฟัง และ เป็นส่วนตัวอย่างสมบูรณ์แบบยิ่งไปกว่านั้น หากเป็น Web Conferencing ก็ยังเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการเห็นภาพ Video พร้อมกับสื่อสารด้วยเสียง Voice ทั้งนี้ หากบริษัทที่ต้องการใช้ระบบการประชุมทางไกลผ่านทาง Web Conferencing ก็อาจจะต้องจ่ายเงินเพิ่มซื้อ Software จากบริษัทที่ให้บริการ ก็มักจะเป็นบริษัทที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต ISP(Internet Service Provider) ก็จะจัดเนื้อที่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ Server เพื่อใช้ในการประชุมทางไกลนี้ ทั้งนี้ทั้งบริษัทแม่ที่จะเป็นศูนย์การประชุม หรือ สั่งงาน และ บริษัทลูก หรือ สาขาของบริษัท ต่างก็จะต้องลงโปรแกรม หรือ Software ตัวเดียวกัน จากแหล่งเดียวกัน เพื่อให้การสื่อสาร 2 ทาง หรือ ทั้งระบบจะประสานสอดรับการใช้เนื้อที่ในเครื่องแม่ข่าย และ ใช้ช่องทางสื่อสาร Bandwidth นั้นอย่างมีประสิทธิภาพคล้องจองกัน

สรุป คือ Teleconferencing ก็จะเป็นการติดต่อสื่อสารกันตั้งแต่ 2 สายขึ้นไป หรืออาจจะเป็นการประชุมหลายเครื่องโทรศัพท์ และ ทุกคนผู้ที่ถือหูโทรศัพท์ต่างก็จะได้ยินเสียงของทุกคนพร้อมๆกัน นั่นก็หมายความว่า ตัวเครื่องโทรศัพท์แต่ละจุด อาจจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ธรรมดา หรืออาจจะเป็นแบบ Hand-free เรียกว่ากดปุ่มให้เสียงออกที่ลำโพง ให้คนในห้องได้ยินกันทุกคน และเมื่อใครจะพูดก็แล้วแต่เสียงก็จะเข้าไปในเครื่องโทรศัพท์ผ่านไมโครโฟน สักเกตุให้ดีแล้วก็จะเห็นเป็นรูไมโครโฟนเล็กๆอยู่มุมล่างซ้ายหรือขวาของเครื่องโทรศัพท์ ถ้าเป็นรุ่นที่ทำมาเพื่อ Teleconferencing โดยเฉพาะรูปร่างบางรุ่นก็จะเป็นเครื่องลักษณะ 3 ขามีลำโพงใหญ่ บางรุ่นก็มีลักษณะกลม มีปุ่มกดเลขเหมือนเครื่องโทรศัพท์ทั่วๆไป จุดประสงค์ก็คือวางอยู่บนโต๊ะกลางห้องประชุม เครื่องลักษณะนี้ส่วนมากจะให้ออกเสียงที่ลำโพงอย่างเดียว หากต้องการพูดเรื่องส่วนตัวสำหรับคนเดียวก็จะมีปุ่มสวิทซ์เลือกเปลี่ยนสัญญาณไปยังเครื่องโทรศัพท์แบบยกหู นี่ก็เป็นอีกแบบหนึ่ง (รูปประกอบวันนี้ได้มากจาก www.telecom.globalsources.com ส่วน Web Conferencing นั้นก็จะต้องอาศัย Web Cam เครื่องคอมพิวเตอร์ ไมโครโฟน ลำโพง โดยทั่วไปหากจะมีการประชุมทางไกลลักษณะใดก็ตาม สิ่งแรกก็คือการนัดหมายเวลา ประการที่สองหัวข้อเรื่อง หรือ วาระการประชุม ก่อนประชุมต้องทดสอบ ทดลองจนแน่ใจเพื่อมิให้การประชุมต้องยุติด้วยเหตุผลความไม่พร้อม หากการประชุมสำเร็จลุล่วงไปแล้ว ก็อาจจะเอาเหตุการณ์ หรือ ผลสรุปที่เกิดขึ้นระหว่างประชุม(ซึ่งบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์)มาย้อนทบทวนดูจุดบกพร่องในครั้งนี้ เพื่อพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นในครั้งต่อๆไปได้ด้วย หน้ากระดาษหมดพอดี พบกันใหม่ สวัสดีครับ จาก มิสเตอร์ วินโดว์

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

อาคารอัจฉริยะ









อาคารอัจฉริยะ (INTELLIGEN BUILDING) นั้นมาจากแหล่งกำเนิดสองประเทศ คือ อเมริกาและญี่ปุ่นซึ่งมีแนวคิดความคิดแตกต่างกันออกไป กล่าวคือ อเมริกาจะเน้นถึงการบริหารอาคาร ให้มีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงาน ความปลอดภัย ความสะดวกสบายของคนทำงานในอาคาร และการบำรุงรักษา ส่วนญี่ปุ่นจะเน้นถึงการสื่อสารโทรคมนาคม โทรศัพท์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ทั้งการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในอาคารอาคารอัจฉริยะมีระบบต่าง ๆ ที่ทำงานสัมพันธ์กันดังนี้- ระบบปรับอากาศ, ระบบแสงสว่าง, ระบบรักษาความปลอดภัย, ระบบสัญญาณตรวจจับและเตือนไฟไหม้, ระบบดังเพลิง- ระบบประหยัดพลังงาน- ระบบสื่อสารโทรคมนาคมและระบบสำนักงานอัตโนมัติ
แนวความคิดในการออกแบบอาคารอัจฉริยะวัตถุประสงค์การออกแบบอาคารให้เป็นอาคารอัจริยะนั้นประกอบด้วยหลักเกณฑ์พื้นฐานดังนี้- ออกแบบให้สามารถเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงพื้นที่ใช้สอยและการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในอนาคต- ลดการใช้พลังงานและค่าใช้จ่ายในการใช้สอยอาคารเพื่อประกอบธุรกิจนั้น ๆ
ระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ (BUILDING CONTROL SYSTEMS)- การควบคุมอุณหภูมิและความชื้นโดยอัตโนมัติ เพื่อปรับสภาพอากาศ ให้เหมาะสมกับการทำงานของบุคคลในอาคารสำนักงาน โดยการนำตัวควบคุมแบบดิจิตอล มาใช้ในระบบควบคุมอัตโนมัติเนื่องจากมีขนาดเล็กกว่า และถูกกว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่า การดูแลและควบคุมอาคารจากศูนย์กลางเดียวกันทำให้ง่ายต่อการบำรุงรักษา และปรหยัดช่างเทคนิค ในการบำรุงเครื่องมือและอุปกรณ์ในอาคาร รวมทั้งการวัดค่ากำลังงานไฟฟ้าที่ใช้งานเพื่อประโยชน์ในการวางแผนประหยัดพลังงานไฟฟ้าและการออกบิลเรียกเก็บเงินจากลูกค้าที่เช่าอาคาร การสั่งการโดยใช้โทรศัพท์เพื่อเปิด-ปิดแอร์และแสงสว่างนอกช่วงเวลาปกติ เพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้า การควบคุมลิฟท์โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อการควบคุมช่วงเวลาเปิดประตูลิฟท์แต่ละตัว ทั้งนี้เพื่อการประหยัดพลังงานและยืดอายุการใช้งานของลิฟท์- ผังระบบภายในอาคาร ที่ติดตั้งในห้องควบคุม ซึ่งจะประกอบด้วยระบบอัคคีภัย, รักษาความปลอดภัย,ลิฟท์, ชิลเลอร์และ AHU เป็นต้น เพื่อแสดงสถานะของอุปกรณ์แต่ละตัว ในอาคารซึ่งเป็นข้อมูล ให้กับผู้ควบคุมจัดการระบบต่างได้ดี


ระบบรักษาความปลอดภัย (SECURITY SYSTEM)- ระบบโทรทัศน์วงจรปิด เพื่อตรวจตราดูในบริเวณที่สำคัญและสามารถบันทึกภาพไว้ดูภายหลังได้- ระบบการตรวจจับการบุกรุกรอบอาคาร โดยจะแจ้งมาที่ห้องควบคุมระบบตรวจจับการเคลื่อนไหวจะติดตั้งไว้ในบริเวณห้องต่าง ๆ ที่สำคัญ การควบคุมบริเวณเข้าออกในอาคาร โดยการใช้ประตูอัตโนมัติ หรือการดูสถานะของประตู การให้บัตรยินยอมให้ผู้ถือบัตรผ่านเข้าออกประตูนั้น ๆ ได้- ระบบตรวจสอบการเดินยาม ใช้บันทึกเวลาและเส้นทางเดินทางของยาม - ปุ่มกดฉุกเฉิน ติดตั้งไว้ในบริเวณห้องเก็บเงินหรือบริเวณยามรักษาการณ์ใช้กดเพื่อแจ้งเหตุร้าย รายงานมาห้องควบคุมจะติดที่โต๊ะหรือซ่อมไว้ที่เหมาะสม- การควบคุมการจอดรถ เพื่อตรวจสอบจำนวนรถที่เข้าในอาคารมีที่ว่างพอหรือไม่
ระบบประหยัดพลังงาน (ENERGY SAVING SYSTEM)- การควบคุมระบบปรับอากาศให้ทำงานที่จุดเหมาะสมเพื่อประหยัดพลังงาน ตามอัตราส่วนของปริมาณความร้อนที่ใช้งานจริง- การควบคุมเปิด-ปิดระบบปรับอากาศตามโปรแกรมเวลา- การควบคุมระบบแสงสว่างให้เปิด-ปิดตามโปรแกรมเวลาร่วมกับ Sensor เพื่อประหยัดไฟฟ้า- การควบคุมความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุด โดยการปิดอุปกรณ์บางส่วนที่ไม่จำเป็น- การใช้ HEAT EXCHANGER ในการทำอากาศภายนอกอาคารให้เย็นลง โดยใช้อากาศภายในอาคาร ที่ถูดดูดทิ้งแบบตัวทำความเย็นให้ก่อนที่จะดูดอากาศภายนอกเข้ามาในอาคาร- การควบคุมการเปิดอุปกรณ์ในกรณีที่ไฟฟ้าดับแล้วมาใหม่
ระบบสื่อสารโทรคมนาคม (TELECOMMUNICATION) - ระบบโทรศัพท์ภายในและ PBX ซึ่งสำคัญที่สุดในการสื่อสารในอาคาร- ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โดยการส่งผ่านข่าวสารผ่าน Central Computer- การบันทึกเสียงโทรศัพท์อัตโนมัติ- การจัดให้มีการประชุมทางโทรศัพท์ได้- การสื่อสารทางวิทยุกับอาคารอื่น ๆได้
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (OFFICE AUTOMATION SYSTEM)การจัดให้มีการแสดงข่าวสารในบริเวณห้องโถงของส่วนรวมและระบบข่าวสารของแผนกต้อนรับเพื่อบริการแก่ลูกค้าที่เข้ามาในอาคาร
การจัดสภาพแวดล้อมในอาคาร (ENVIRONMENTAL PLANNING)- การออกแบบทางสถาปัตยกรรมเกี่ยวกับพื้นที่ใช้สอยบริเวณต่าง ๆ ให้มีความคล่องตัว- ชุดเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในสำนักงานต้องจัดให้เหมาะสม สามารถเพิ่มเติมความต้องการได้ง่าย- การออกแบบชุดโต๊ะทำงานและการตบแต่ง ให้เหมาะสมทางกายภาพ รวมทั้งการคำนึงถึงแสงสว่าง- การจัดให้มีห้องนั่งเล่นหรือพักผ่อนของพนักงาน
ระบบโครงสร้างอาคาร (BUILDING CONSTRUCITON)- การจัดระบบ LAN เป็นระบบสื่อสารหลักของอาคารและฝ่ายทุก ๆ ชั้นของอาคารรวมทั้งระบบโทรศัพท์- การเดินสายใต้พื้น ต้องจัดให้มีพื้นยก ใช้ท่อเดินสายไฟชนิดใต้ดิน รวมทั้งแบบใต้พรม- การเดินสายในฝ้าเพดาน ต้องสามานที่จะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย จัดให้มีช่องว่างพอสมควร- การจัดระบบปรับอากาศให้สามารถเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้สอยของแต่ละโซนได้สะดวก